“หนูแฮมสเตอร์” เจ้าหนูตัวจิ๋วสุดน่ารักกับวิธีการเลี้ยงที่ไม่ยาก

หนูน่ารัก หนูแฮมสเตอร์

สารบัญ

หากใครกำลังมองหาสัตว์เลี้ยงน่ารัก ๆ ไว้เป็นเพื่อนเล่นสักตัว แน่นอนว่าในโลกนี้ก็มีตัวเลือกให้เลือกมากมาย ทั้งสุนัข แมว นก หนู กระรอก เต่า กิ้งก่า และอีกหลายร้อยประเภทเลยทีเดียว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “หนูแฮมสเตอร์” นั่นเอง แม้เจ้าหนูชนิดนี้จะตัวเล็กจิ๋วเท่าฝ่ามือ ดูบอบบางน่าทะนุถนอม แต่ก็ไม่ได้เลี้ยงยากอย่างที่คิดเลยและยังสามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ด้วยนะ

เจ้าหนูจิ๋วสายพันธุ์นี้จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเป็นสัตว์ตระกูลฟันแทะ สามารถแบ่งออกเป็นอีก 5 สายพันธุ์ และที่สำคัญไม่มีหางยาวทำให้คนที่กลัวหางหนูนั้น สามารถเลี้ยงได้อย่างสบายใจ พร้อมแล้วตามมาดูกันเลยว่ามีพันธุ์อะไรบ้าง

1. Winter white (วินเทอร์ ไวท์)

1. Winter white (วินเทอร์ ไวท์)

สายพันธุ์นี้นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ชื่อสายพันธุ์เต็ม ๆ คือ Dwarf winter white Russian hamster แต่ที่คนเรียกว่าวินเทอร์ ไวท์ นั้นเป็นเพราะลักษณะภายนอกของน้องนั่นเอง พอเมื่อถึงฤดูหนาวมันจะผลัดขน และสีขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เพื่อไว้พรางตัวในหิมะ เมื่อน้องมาอยู่ในประเทศไทยเขตร้อนก็อาจจะเห็นการเปลี่ยนสีขนได้ยาก แต่ถ้าหากเลี้ยงน้องให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศเย็น เราก็จะสามารถเห็นสีขนน้องเปลี่ยนได้เช่นกัน ซึ่งน้องจะมีสีขนที่ค่อนข้างเหมือนกับสายพันธุ์แคมป์เบลล์ แต่ก็ยังมีผู้ที่สามารถจำแนกเจ้าหนูทั้งสองสายพันธุ์นี้ได้ซึ่งเขามีชื่อว่า “Peter Simon Pallas” ซึ่งอธิบายไว้ว่าหนูวินเทอร์ ไวท์นั้นเป็นวงศ์ย่อยของแคมป์เบลล์อีกทีนึง

ลักษณะทางกายภาพ : วินเทอร์ ไวท์ จะมีลักษณะกลมทั้งตัว ขนแน่นและนุ่ม มีหางและใบหน้าที่สั้น ขนาดโตเต็มวัยมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10 ถึง 12 เซนติเมตร มีอยู่ด้วยกัน 3 สีคือ 1. Agouti หรือเรียกกันว่าสีนอมอล จะออกเป็นสีน้ำตาลมีเส้นคาดกลางหลังเป็นสีดำ  2. Sapphire สีขนออกเทาอ่อนออกเงินๆ มีเส้นยาวคาดหลังเกือบเป็นสีเทาเข้ม 3. Pearl ลำตัวมีสีขาวมีเส้นคาดกลางหลังเป็นสีเทา

ลักษณะนิสัย : ค่อนข้างมีความรักสันโดษและหวงถิ่นที่อยู่อาศัยของตัวเอง ไม่ดุมากแต่ก็ไม่ใจดีเท่าไจแอนท์ ทาสบางคนอาจจะถูกน้องกัดอยู่บ้าง เนื่องจากขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูและนิสัยใจคอของน้องหนูเองด้วย

2. Campbell (แคมป์เบลล์)

2. Campbell (แคมป์เบลล์)

สายพันธุ์ที่นิยมรองลงมา ที่มีชื่อสายพันธุ์เต็มว่า Campbell’s Dwarf Russian Hamster มีลักษณะภายนอกที่คล้ายกับสายพันธุ์วินเทอร์ ไวท์ แต่ว่าน้องมีความแตกต่างกันที่นิสัยใจคอ และสีขนที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีตามฤดูหนาวเพื่ออำพรางตัวกลืนกับหิมะได้ ส่วนคนที่ตั้งชื่อสามัญให้กับหนูสายพันธุ์นี้คือ “Oldfield Thomas” แต่คนที่ค้นคว้าหาข้อมูลของน้องคือนาย “Charles William Campbell” นั่นเอง

ลักษณะทางกายภาพ : น้องจะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าวินเทอร์ ไวท์เล็กน้อย มีหน้าที่สั้นทู่ ตัวอ้วนเป็นทรงกลม ขนนุ่ม มีหางที่สั้นกุด ขนาดโตเต็มวัยมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10 ถึง 15 เซนติเมตร มีสีขนที่เหมือนกับวินเทอร์ ไวท์ สีนอมอลคือขนสีน้ำตาลและมีเส้นคาดหลังเกือบดำ แต่ในปัจจุบันน้องถูกผสมออกมาจนมีหลายสีมาก ๆ 

ลักษณะนิสัย : ภายนอกนั้นหน้าตาน้องดูน่ารักน่าเอ็นดูเป็นอย่างมากแต่ว่าสำหรับนิสัยส่วนใหญ่น้องค่อนข้างดุ ชอบกัดชอบตบเจ้าของ ถ้าเจอแบบดุมากก็มีเลือดตกยางออกกันได้เลยทีเดียว เอาแต่ใจบ้างเล็กน้อย รักถิ่น รักสันโดษ แต่ถ้าหากคุณแต้มบุญเยอะพอก็อาจจะสามารถเจอตัวที่เชื่องมาก ๆ ได้เช่นกัน เป็นสายพันธุ์ที่ไม่แนะนำสำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่ค่ะ

3. Chinese Hamster (ไชนีส แฮมสเตอร์)

ชื่อเต็ม ๆ ว่า Chinese Dwarf Hamster เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีคนเลี้ยงเหมือนกัน แต่ว่าไม่ได้เป็นที่นิยมมากสักเท่าไหร่ อาจจะเพราะด้วยสาเหตุที่น้องมีลักษณะคล้ายหนูบ้านไปนิดนึง ซึ่งแหล่งที่มาของน้องคือทะเลทรายตอนเหนือของประเทศจีนและแถบมองโกเลีย

ลักษณะทางกายภาพ : ลักษณะลำตัวมีความผอมเพรียวเรียวยาว หน้าแหลมนิดหน่อย บริเวณมือเท้าไม่ค่อยมีขนขึ้น แต่ที่สำคัญคือมีหางที่ยาวกว่าเพื่อนๆ สายพันธุ์อื่น ๆ เลย หางยาวประมาณ 1 ถึง 3 เซนติเมตร ขนาดตัวที่โตเต็มที่อยู่ที่ความยาวประมาณ 7 ถึง 9 เซนติเมตร มีสีขนด้วยกันหลากหลายสีเท่าที่เห็นได้ก็มี 1. ลำตัวสีน้ำตาลผสมเทา เส้นคาดหลังสีเกือบดำขนหน้าท้องสีขาว 2. ขนรอบตัวสีขาว เส้นคาดกลางหลังสีเทา 3. ขนสีขาวล้วนลูกตาสีดำ

ลักษณะนิสัย : ตอนเด็กเป็นหนูขี้ตื่นตกใจ แต่พอเริ่มโตเป็นวัยรุ่นจะเริ่มมีสติมากขึ้น 555 หมายถึงว่าน้องจะนิ่งมากขึ้นนั่นเอง

4. Roborovski (โรโบรอฟสกี)

4. Roborovski (โรโบรอฟสกี)

ชื่อเต็ม Roborovski Dwarf Hamster เจ้าหนูตัวแคระ ตัวเล็กจิ๋วที่สุดในรุ่น จี้ดสุด เร็วสุด จะจับทีแทบไม่ทัน เพราะน้องวิ่งเร็วมาก ๆ ดูได้จากคลิปจากทั่วทุกมุมโลกที่เลี้ยงเจ้าหนูสายพันธุ์นี้ไว้ ปั่นจักรทีไรมองเท้าแทบไม่เห็น น้องนั้นมีแหล่งกำเนิดมาจากทะเลทราย และถูกค้นพบโดยคุณ Lt. Vsevolod Roborovski เมื่อมาจากทะเลแล้วนั้นสีขนน้องก็เลยมีสีคล้ายเม็ดทรายเพื่อความเนียนในเรื่องการอำพรางตัว ที่สำคัญหนูพันธุ์นี้อายุยืนกว่าสายพันธุ์อื่นด้วยนะ

ลักษณะทางกายภาพ : มีขนาดตัวที่เล็ก หางสั้นกุด หน้าสั้น สีขนเป็นสีน้ำตาลอมเทาไม่มีเส้นคาดหลัง ขนาดเมื่อโตเต็มวัยยาวไม่เกิน 5 เซนติเมตร แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสีให้หลากหลายมากขึ้น กำเนิดเป็นสีใหม่ขึ้นมา เรียกกันว่าโรโบพาย (เป็นสีที่ได้มาจากยีนส์ด้อย) เข้ามาแพร่หลายในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557

ลักษณะนิสัย : มีความรักพวกพ้อง ชอบอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นก้อน แนะนำว่าควรเลี้ยงเป็นเพศเดียวกัน น้องขี้ตกใจ หวาดกลัว เป็นนักวิ่งฝีเท้าไวปานไฟลุก ค่อนข้างซุกซนไม่อยู่นิ่งให้ทาสจับได้ง่ายๆ เหมาะแก่ทาสที่ไม่ค่อยมีเวลาเล่นแค่อยากมองน้องปั่นจักร วิ่งปรู๊ดปร๊าดไปมาเพลิน ๆ

5. Syrian Hamster (ซีเรียนแฮมสเตอร์หรือไจแอนท์แฮมสเตอร์)

5. Syrian Hamster (ซีเรียนแฮมสเตอร์หรือไจแอนท์แฮมสเตอร์)

หนูตัวสุดท้ายแล้วที่เราจะมาแนะนำสายพันธุ์ให้ได้รู้จักกัน น้องมักถูกเรียกว่า โกลเด้นหรือเท็ดดี้แบร์อยู่บ่อย ๆ เนื่องจากน้องมีขนาดตัวที่ใหญ่สุดในรุ่น ขนฟูอ้วนเหมือนตุ๊กตาหมี บางตัวมีสีขนสะท้อนแสงเงา ๆ เหมือนกำมะหยี่ แถมมีนิสัยที่เชื่องและใจดีเป็นที่สุด น้องมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศซีเรีย ถูกตั้งชื่อโดยชายชาวอังกฤษที่มีชื่อว่า George Robert Waterhouse 

ลักษณะทางกายภาพ : ไจแอนท์มีขนาดตัวที่ใหญ่ อ้วน หางสั้นกุด หูโตเป็นทรงกลม หน้าแหลม ขนมีทั้งแบบสั้น ยาว และหยักศก ถ้าพูดถึงสีนั้น น้องถูกพัฒนาสายพันธุ์จนตอนนี้ในท้องตลาดมีให้เลือกหลายสีด้วยกัน เช่นสีครีม เทา ขาว น้ำตาล ขนาดโตเต็มวัยความยาวอยู่ที่ประมาณ 7 นิ้ว

ลักษณะนิสัย : ไจแอนท์เมื่อเด็กจะขี้ระแวง หวาดกลัวกลิ่นแปลกและคนแปลกหน้า แต่ทว่าเมื่อโตขึ้น จะมีนิสัยที่เงียบและเป็นมิตรกับคนเลี้ยงมาก ๆ สามารถหลับในฝ่ามือเราได้เลย ซึ่งนิสัยเหล่านี้ จะขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและนิสัยส่วนตัวที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด บางตัวเราใจดีแค่ไหน แต่ก็ซนไม่ให้เราจับก็มีเช่นกัน ไจแอนท์เมื่อโตขึ้นจะมีความหวงถิ่นและรักสันโดษ ไม่ควรเลี้ยงให้อยู่ด้วยกันหลายตัว ทางที่ดีคือการแยกเลี้ยงเดี่ยว 1 กรงต่อ 1 ตัวจะดีที่สุด

อาหารหลักและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารหลักและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

หนูทั้ง 5 สายพันธุ์ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถทานอาหารได้เหมือนกันหมดทุกชนิด อาหารที่เหมาะสมแก่หนูจะเป็นพวกผักและผลไม้อบแห้ง อาหารเม็ดที่ผลิตเพื่อหนูโดยเฉพาะ ส่วนผักผลไม้สดสามารถให้ได้นาน ๆ ครั้งเพื่อเป็นรางวัลเท่านั้น ขนมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อหนูก็มีหลายยี่ห้อเช่นกัน เช่นพวกขนมหนูเลียรสชีส รสผลไม้ ไข่ผงอบแห้ง ทาโร่ปลาเส้น เป็นต้น ทั้งนี้เวลาเลือกซื้ออาหารให้หนูควรเลือกซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ หรือซื้อของที่บรรจุหีบห่อดี ดูมียี่ห้อ ไม่ควรซื้อแบบที่เป็นถุงใส ๆ แล้วมีสติ๊กเกอร์เหมือนแบรนด์ทำเองแปะอยู่ เนื่องจากในปัจจุบันมีคนนำอาหารคนมาแบ่งขาย บรรจุในห่อใส ๆ แล้วนำมาวางขายหลอกผู้เลี้ยงว่าเป็นอาหารหนู

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับหนูแฮม ได้แก่ผักและผลไม้สดทุกชนิดเนื่องจากจะทำให้หนูท้องเสียได้หากให้ในปริมาณที่มากเกินไป อาหารคนก็เป็นสิ่งที่ต้องห้ามเช่นกันเนื่องจากมีรสจัด ทำให้หนูเป็นโรคไตก่อนวัยอันควร หนูห้ามกินของปรุงรสชาติใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการซื้ออาหารให้น้องจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสุขภาพน้องทุกครั้งเนื่องจากอาหารที่เป็นข้อห้ามนั้น สามารถส่งผลให้น้องป่วยเช่นเป็นโรคมะเร็งเมื่อตอนที่น้องมีอายุเยอะแล้วนั่นเอง

อุปกรณ์ใช้เลี้ยงหนูแฮมสเตอร์

อุปกรณ์ใช้เลี้ยงหนูแฮมสเตอร์

อุปกรณ์สำคัญชิ้นแรกคือกรง กรงสำหรับหนูก็เป็นเสมือนรั้วรอบบ้านของคน เอาไว้เป็นที่กันภัยอันตรายจากสัตว์ใหญ่ตัวอื่น ซึ่งขนาดกรงนั้นก็มีด้วยกันหลายขนาด หลายวัสดุ สำหรับคนที่ไม่มีทุนทรัพย์ก็สามารถซื้อกล่องมาโมดิฟายเองได้เพียงแต่ขอให้ขนาดใหญ่มากพอก็โอเคแล้ว เพราะขนาดที่อยู่นั้นส่งผลต่อสุขภาพจิตของหนูได้ ที่แคบไป ที่วิ่งเล่นไม่เยอะ ใส่ของเล่นได้น้อย จะทำให้หนูเกิดความเครียดส่งผลให้หนูมีนิสัยดุร้าย ไม่เชื่องกับเจ้าของได้

กรงที่ใช้สำหรับเลี้ยงน้อง

กรงที่ใช้สำหรับเลี้ยงน้อง

กรงจำเป็นต้องมีความแข็งแรงทนต่อการใช้งานและทำความสะอาดง่าย ที่สำคัญเลยคือไม่แนะนำให้เลี้ยงหนูในห้องเนื่องจากเราอาจจะเผลอเดินเหยียบน้องได้ และด้วยความที่น้องเป็นสัตว์ฟันแทะอาจจะกัดทำลายข้าวของหรือมุดรูท่อน้ำ หรือรูเล็ก ๆ หนีไปได้

ขนาดกรงควรมีขนาดตั้งแต่ 75 x 40 เซนติเมตรเป็นต้นไป ขนาดที่กล่าวมานี้สามารถใช้ได้กับหนูทุกสายพันธุ์ ในเคสที่ทำกรงเลี้ยงเองโดยใช้กล่องพลาสติก ควรหากล่องที่มีขนาดใหญ่ ความจุที่ประมาณ 100 ลิตรขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องสูงมากขอเพียงมีพื้นที่กว้างเป็นพอ เจาะรูเป็นหน้าต่างระบายอากาศ และใช้ตะแกรงซี่กรงที่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์สัตว์ทั่วไปมาติดเป็นซี่หน้าต่าง ซี่กรงไม่ควรใหญ่มากกันหนูคอติดหรือหนูมุดรูซี่หลุดออกไปได้

วัสดุทำรังหรือรองกรงที่ใช้ปูที่พื้นกรงหนูแฮมสเตอร์

วัสดุทำรังหรือรองกรงที่ใช้ปูที่พื้นกรงหนูแฮมสเตอร์

รองกรงสำหรับหนูมีไว้เพื่อให้น้องซุก มุด หรือนำไปทำรังนอน ก็มีวัสดุให้เลือกหลายประเภทเช่นกัน แต่เราควรเลือกชนิดรองกรงที่ปลอดภัยและเหมาะสมต่อน้องที่สุดโดยมีปัจจัยในการเลือกใช้คือ ตัวที่เป็นฝุ่นน้อย ไม่แหลมคมจนทำให้บาดหรือแทงหนูได้ ใช้แล้วหนูไม่เกิดอาการแพ้ ไม่มีกลิ่นที่ทำอันตรายต่อหนู ที่เห็นในท้องตลาดจะมีรองกรงที่ทำด้วยขี้เลื่อยซึ่งราคาถูกสุด (แต่ไม่แนะนำให้ใช้) รองกรงก้านปอ, รองกรงกระดาษ, รองกรงแอสเพน, รองกรงลินิน, Bedding wood เป็นต้น

บ้านที่นอนของหนูแฮมสเตอร์

บ้านที่นอนของหนูแฮมสเตอร์

นอกจากกรงกันภัยของหนูแล้ว บ้านของหนูแฮมที่เอาไว้เป็นที่หลับนอนก็มีความจำเป็นเนื่องจากหนูเป็นสัตว์กลางคืน กลางคืนตื่นกลางวันหลับพอถึงเวลาต้องหลับ ที่นอนที่เหมาะสมกับน้องจะมีลักษณะเป็นโพรง มืด ไม่ควรมีแสงสว่างไปรบกวนการนอนหลับของน้อง ซึ่งบ้านของหนูก็มีหลายวัสดุให้เลือก เช่น โหลเซรามิกส์หรือดินเผาที่เก็บความเย็นได้ดีเหมาะแก่สภาพแวดล้อมบ้านของผู้เลี้ยงท่านใด ที่บ้านอากาศร้อน และบ้านไม้ เป็นต้น มีให้เลือกด้วยกันหลายขนาดใหญ่ตั้งแต่ 8 เซนติเมตรเป็นต้นไป ผู้เลี้ยงควรเลือกขนาดโหลให้เหมาะสมกับตัวน้องที่ไม่เล็กจนเกินไป

กระบอกขวดน้ำสะอาด

กระบอกขวดน้ำสะอาด

นอกจากการให้อาหารแห้งแล้ว น้ำก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย การให้น้ำที่เหมาะสมแก่หนูควรเป็นน้ำสะอาดที่ใส่อยู่ในขวด ซึ่งขวดที่ว่านี้สามารถติดแขวนกับซี่กรงได้ สามารถถอดมาทำความสะอาดและเติมน้ำได้อยู่เสมอ ผู้เลี้ยงควรคอยสังเกตปริมาณน้ำในขวดอยู่เสมอ ๆ ว่าน้ำสกปรกไหม ตรงปลายลูกกลิ้งที่ไว้สำหรับให้หนูเลียน้ำ ยังมีน้ำไหลอยู่ตลอดหรือไม่เพราะจะมีในบางกรณีที่เวลาเราล้างขวดน้ำกับฝาน้ำแล้วลูกกลิ้งเหล็กติดค้างอยู่ในท่อทำให้น้ำไม่ไหลออกมา หนูเมื่อไม่ได้กินน้ำนาน ๆ สามารถเสียชีวิตได้เลย ซึ่งขวดก็มีด้วยกันหลายขนาดและรูปทรง ให้ผู้เลี้ยงเลือกแบบที่เหมาะสมกับหนูและกรงมากที่สุด

ทรายอาบน้ำสำหรับหนูแฮมสเตอร์

ทรายอาบน้ำสำหรับหนูแฮมสเตอร์

ทรายสำหรับน้องมีตัวเลือกอยู่ด้วยกันไม่กี่ประเภท เท่าที่เห็นได้ในท้องตลาดจะมีเป็นแบบทรายเม็ดเล็กผสมสีและกลิ่น (ไม่แนะนำให้ใช้) อาจจะกลบกลิ่นได้ดีแต่เม็ดอาจจะเล็กจนทำให้ตาหนูอักเสบได้ ทรายไม่จับตัวเป็นก้อนต้องเททิ้งทั้งหมด รวมไปถึงกลิ่นและสีของทรายอาจจะทำอันตรายให้แก่หนูได้อีกเช่นกัน จะมีทรายอีก 2 แบบที่ผู้เลี้ยงนิยมใช้คือทราย Bedding ที่ไว้ปูแทนรองกรงได้ มีสีน้ำตาลกลิ่นหอมอ่อนๆ กับทราย แบบที่เป็นเม็ดสีขาวลักษณะกลม ๆ การจับตัวเป็นก้อนคล้ายกับทรายเต้าหู้ที่เป็นทรายเอาไว้สำหรับขับถ่ายของน้องแมว ซึ่ง 2 ตัวนี้จะดักจับปัสสาวะน้องได้ดีมาก เวลาทรายเปียกน้ำจะจับตัวเป็นก้อน ง่ายต่อการที่ผู้เลี้ยงจะใช้ช้อนตักเป็นก้อนเอาออกมาทิ้ง แล้วเติมทรายเข้าไปใหม่เล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องเททิ้งทั้งหมด ช่วยให้ผู้เลี้ยงประหยัดทรัพย์ไปได้เยอะ

ของเล่นต่าง ๆ ภายในกรงแฮมสเตอร์

ของเล่นต่าง ๆ ภายในกรงแฮมสเตอร์

ของเล่นเป็นสิ่งสุดท้ายที่จำเป็นรองลงมาจากอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าหนูเมื่ออยู่ในพื้นที่จำกัดสามารถเกิดความเครียดขึ้นได้ ฉะนั้นของเล่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้หนูรู้สึกผ่อนคลายและมีกิจกรรมทำในยามที่มันตื่นขึ้นมากลางดึก ของเล่นที่ใช้ได้วัสดุควรแข็งแรง และไม่เป็นอันตรายต่อหนู เพราะหนูเป็นสัตว์ฟันแทะ อะไรที่สามารถแทะได้น้องจะเลือกแทะจนเละเทะไปหมด

ของเล่นในกรงที่ควรมีเช่น จักร หรือจานวิ่งเอาไว้ให้หนูวิ่งเพื่อออกกำลังกาย บันไดไม้เอาไว้ให้ป่ายปีน สะพาน สไลเดอร์ ฯลฯ ที่ไม่เป็นวัสดุก่อให้เกิดอันตรายกับหนู เป็นต้น

สถานที่ซื้อขายสัตว์เลี้ยง

สถานที่ซื้อขายสัตว์เลี้ยง

หากกำลังมองหาที่ซื้อตัวน้องนั้นไม่ยากเลยค่ะ สามารถไปที่สวนจตุจักรได้เลย มีตัวเลือกให้หลายร้าน แต่การจะเลือกซื้อที่ร้านไหนนั้นก็มีปัจจัยข้อควรระวัง เช่น ต้องดูสภาพกล่องที่ร้านค้าใส่หนูมาขาย สังเกตถึงเรื่องความสะอาดและลักษณะของหนูว่าดูแข็งแรงปกติดีไหม เพราะบางร้านไม่มีสุขอนามัยในการเพาะเลี้ยงหนู หนูที่เราได้มาอาจจะสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่าย หรืออาจจะได้หนูที่ผสมแบบเลือดชิดมา ผลคือทำให้หนูเป็นโรคเอ๋อนั่นเอง (อาการของโรคเอ๋อคือเดินวนเป็นวงกลม เดินขึ้นที่สูงแล้วหงายท้องตีลังกาลงมา แล้วทำซ้ำ ๆ อยู่แบบนั้น) กับอีก 1 ทางเลือกที่ปลอดภัยคือการเลือกซื้อตามเพจเฟซบุ๊คที่ขายหนูซึ่งปัจจุบันมีเพจดัง ๆ ที่รีวิวจากลูกค้าเยอะ และมีความน่าเชื่อถือ ส่วนสายพันธุ์ของหนูก็มีการผสมหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศกันเยอะ แม้จะราคาสูงกว่าท้องตลาดบ้านเรา แต่เราจะได้หนูที่สุขภาพแข็งแรง ฟอร์มสวย ขนสวย แถมมีหลากหลายสีให้เลือกอีกด้วย

การที่จะเลี้ยงสัตว์สักอย่าง เรื่องที่สำคัญเป็นที่หนึ่งคือเรื่องเงิน นอกจากการเปย์น้องด้วยอุปกรณ์และอาหารต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว เราต้องคำนึงถึงอนาคต ในวันที่หนูเข้าสู่วัยชราภาพ หนูมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ถึง 3 ปีเท่านั้น พอเริ่มเข้าปีที่ 2 หนูจะเริ่มมีอาการป่วยต่าง ๆ เช่น เนื้องอก เชื้อรา มะเร็ง โรคหัวใจ ซึ่งโรคป่วยเหล่านี้ในสัตว์ชนิดเล็กจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าสุนัขหรือแมวเท่าตัวเลยล่ะ

ข้อมูลเครดิต : muncute.com, pantip.com,

เครดิต : บาคาร่าเครดิตฟรี

Credit สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการสัตว์เลี้ยงแนวหน้าในประเทศไทย