สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม มักจะต้องมีโรคภัยไข้เจ็บเหมือนกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสุขนัข แมว งู หนู หรือแม้แต่มนุษย์อย่างเราเอง ก็หลีกหนีไม่พ้น แต่สัตว์เหล่านั้นที่ผมได้พูดไปเมื่อสักครู่ล้วนแล้วแต่เป็นสัตว์ที่สามารถพาไปรักษาได้ และมีโอกาสรอดสูงกว่าสัตว์เลี้ยงที่เรานั้นจะพูดถึงกันในวันนี้กับ ปลาสวยงาม สัตว์ประเภทนี้เป็นสัตว์ที่เรียกได้ว่าหากเกิดโรคภายในร่างกายแล้ว มีโอกาสน้อยมากที่จะสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยความที่สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวเล็ก และจะรักษาได้ก็ต้องมีการรักษาที่เฉพาะทางมากๆ ผู้เลี้ยงหลายคนจึงเลือกที่จะตัดใจปล่อยให้น้องไปสบาย และวันนี้ petsayhi ได้นำความรู้และแนวทางการป้องกันโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับปลาสวยงามมาให้ทุกท่านได้ศึกษากัน เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสีย เพราะปลาสวยงามบางชนิดราคาไม่ได้น้อยเลยกับบทความสัตว์เลี้ยง 5 โรคร้าย ที่มักเกิดกับปลาสวยงาม
อันดับ 5 วัณโรคปลา (Mycobacteriosis)
โรคนี้เป็นโรคที่หลายคนไม่รู้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้ และสาเหตุกันมาจากความหวังดีของพวกเราเหล่าคนเลี้ยงเอง ที่อยากให้ปลาของเราอ้วนท้วม สมบูรณ์ แข็งแรง โดยการให้อาหารสดอย่างไรแดง ลูกน้ำ หรือหนอนกับปลา เพราะเรารู้กันดีว่าสัตว์เล็กเหล่านี้จะช่วยให้ปลาของเราสุขภาพดี แข็งแรง กว่าอาหารเม็ดแบบทั่วๆ ไป ซึ่งไม่ผิดครับ แต่การนำสิ่งเหล่านี้มาให้ปลากินก็ควรคัดเลือกจากแหล่งที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะเกิดวัณโรคปลาได้ โดยโรคนี้เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium sp. ที่คาดว่าอาจจะมาจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อย่างไรแดง ลูกน้ำ หรือหนอนที่เราให้น้องกินไปนั่นเอง โดยลักษณะอาการจะทำให้ปลาของเราดูซูบผอมลง ไม่มีแรง และไม่สดใสร่าเริง ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ แม้จะใช้ยาจุลชีพแล้วก็ตาม ผู้เลี้ยงจึงควรคัดเลือกแหล่งที่มาของอาหารให้ดีก่อนให้น้องนะครับ
อันดับ 4 โรคจุดขาว (White Spot Disease)
เป็นโรคที่เรียกได้ว่าเกิดง่ายตายเร็ว โรคนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อคือโรคอิ๊ก เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคผิวหนังในปลา สามารถติดได้ง่าย โดยโรคนี้เกิดจาก Ichthyophthirius multifilis ที่กระจายอยู่ตามพื้น ยิ่งปลาบ้านไหนชอบว่ายต่ำ ติดขอบก็จะยิ่งทำให้สามารถติดโรคชนิดนี้ได้ง่าย โดยอาการค่อนข้างรุนแรง และมักเกิดกับปลาสวยงาม เบื้องต้นให้สังเกตว่าปลาของเราเริ่มว่าน้ำแปลกๆ ไม่มีแรงหรือไม่ จากนั้นจึงดูตามบริเวณตัวของปลาว่ามีจุดขาวหรือไม่หากมีก็สามารถบอกได้ว่าอาจจะเกิดจาก โรคจุดขาว ที่เรากำลังจะพูดถึงนี้เอง โดยโรคชนิดนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 2 – 3 วันก็สามารถทำให้ปลาเสียชีวิตได้แล้ว เพราะโรคนี้จะไปทำลายระบบหายใจของปลาโดยตรง
อันดับ 3 พยาธิตัวแบน (Trematode)
เป็นหนึ่งในโรคสุดฮิตที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดาเพราะ พยาธิตัวแบน มีมากถึง 1600 ชนิดกันเลยทีเดียว โดยโรคนี้เป็นหนึ่งในโรคสุดฮิตที่เกิดจากปรสิตแฝงตัวเข้ามาอยู่ในร่างกายของสัตว์เลี้ยง ส่วนอาการของโรคชนิดนี้คือ ซูบผอมไม่มีแรงเพราะถูกพยาธิเหล่านี้ดูดเลือด จนอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย
ซึ่งพยาธิตัวแบนมีลักษณะที่ยาวมากสุด 1 ซม. และมีลำตัวแบนราบ มักอยู่ตามน้ำที่ไม่สะอาด และเข้าไปแฝงตัวทางเหงือกของปลา และที่น่าสนใจคือพยาธิเป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวจึงทำให้การเข้าไปอยู่ในร่างกายของปลาสวยงามของเราเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะมันสามารถแพร่กระจายพันธุ์อยู่ในตัวของปลาเรา แถมเมื่อปลาของเราตา และมีปลาตัวอื่นมากิน ก็อาจจะติดพยาธิไปได้โดยไม่รู้ตัวอีกด้วย
อันดับ 2 โรคหนอนสมอ (Anchor Worm)
โรคหนอนสมอ เป็นหนึ่งในโรคกลุ่มของ ครัสเตเซียน โดยจัดอยู่ในกลุ่มของ โคพีโพดาที่มีจำนวนสายพันธุ์มากถึง 4500 ชนิดกันเลยทีเดียว ซึ่งโรคที่นิยมเป็นกันมากที่สุดคือโคร โรคหนอนสมอ หนอสมอเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้าได้เกิดขึ้นแล้วหากรักษาหายก็อาจจะสามารถเกิดขึ้นอีกได้นั่นเพราะหนอนสมอมีระบบการสืบพันธุ์ที่รวดเร็ว และสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อสารเคมีได้ เมื่อใดก็ตามที่อุณหภูมิเหมาะสม หนอนสมอก็จะฟักตัวออกมาจากไข่ และไปเกาะตามตัวปลาของเราอีกเช่นเดิมแบบนี้ซ้ำๆ ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าเลย จะเห็นเป็นลักษณะเส้นขาวๆ เกาะอยู่ตามตัวปลา หรือลูกตาของปลา การจัดการที่ง่ายที่สุดคือการใช้ไตรคลอรฟอน 0.75 กรัมโดยประมาณ โรยลงในน้ำขนาด 1,000 มิลลิลิตร สัปดาห์ละประมาณ 1 ครั้ง จำนวน 3 – 4 สัปดาห์
อันดับ 1 โรคเชื้อรา (Saprolegniasis)
เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคที่น่าปวดหัวที่สุด เพราะโรคเชื้อรา จะมาพร้อมกับโรคอื่นๆ หรือเรียกว่าโรคแทรกซ้อนในปลานั่นเอง โดยเชื้อราเหล่านี้จะเติบโตบนร่างกายของปลาเรา จากนั้นจะดำรงชีพด้วยการเปลี่ยนสิ่งที่เกาะอยู่ด้วยเอมไซน์ของมันให้กลายเป็นอาหาร การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเชื้อราให้ใช้น้ำเกลือ 1 กรัม ผสมกับน้ำ 1 ลิตร ก็จะสามารถยับยั้งการเกิดโรคเชื้อราได้แล้ว
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความ 5 โรคร้าย ที่มักเกิดกับปลาสวยงาม ที่ทาง Petsayhi ได้นำมาฝากทุกท่าน อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นครับว่าการเลี้ยงปลานั้นเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับการดูแลสุขภาพที่เราไม่สามารถจับต้องได้เลย เราจึงต้องหมั่นสังเกต และดูพฤติกรรมเป็นหลัก เพื่อที่จะให้สัตว์เลี้ยงแสนรักของเราอยู่กับเราไปนานๆ หากใครที่ไม่อยากพลาดเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ข้อมูล เทคนิคต่าง ก็อย่าลืมติดตาม Petsayhi ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ