5 โรคที่คนเลี้ยงปลาคาร์ปต้องระวัง

รวมความรู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

สารบัญ

สำหรับใครที่ชื่นชอบในการเลี้ยงสัตว์อยู่แล้วเรื่องหนึ่งที่เราต้องนึกถึงนั้นก็คือการเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงของเรา เพราะว่าสัตว์เลี้ยงที่เรารักนั้นในเวลาที่พวกมันป่วยนั้นไม่สามารถบอกเราได้เหมือนกับมนุษย์ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของเราในการดูแลและคอยสังเกตอาการผิดปกติของพวกสัตว์เลี้ยงของเราอยู่เสมอ สำหรับใครที่เลี้ยงสัตว์พวกสุนัข แมว นก หรือสัตว์จำพวกอื่นที่สามารถสังเกตอาการได้ง่ายก็คงไม่ใช่ปัญหามากนัก แต่ถ้าหากใครที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการสังเกตอาการป่วยหรือโรคที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงจำพวกปลาอยู่ละก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดูออก ยิ่งเป็นปลาคาร์ปที่มีราคาที่สูงและเลี้ยงยากแล้วคงไม่มีเจ้าของคนไหนที่จะไม่ห่วง เรามี 5 โรคที่คนเลี้ยงปลาคาร์ปต้องระวังแนะนำการสังเกตอาการของเหล่าปลาคาร์ปสุดรักสุดหวงของใครหลายๆ คนกัน

1.โรคบวมน้ำหรือโรคไต

1.โรคบวมน้ำหรือโรคไต

เป็นโรคที่เกิดจากคุณภาพของน้ำในสระไม่ดีหรือมีปริมาณของออกซิเจนในน้ำนั้นต่ำเกินไป หากเชื้อลุกลามเต็มที่ปลาคาร์ปจะอยู่ได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ แต่เราสามารถสังเกตอาการของปลาคาร์ปได้จากการที่เกล็ดของตัวปลาเริ่มหลุดและมีอาการท้องบวม โดยมีวิธีการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ผสม Furanance ในปริมาณ 250 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1แกลลอน แช่ให้ปลา ภายใน 1 ชั่วโมง และไม่ควรแช่เกิน 3 ครั้ง ภายใน 3 วัน ปลาคาร์ปจะรับสารนี้ทางผิว ถ้าไม่ใช้วิธีนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีก็คือการนำปลาคาร์ปไปแช่น้ำเกลือแล้วถ้าหากปลาคาร์ปไม่มีตอบสนองต่อการรักษาภายใน 2-3 วัน นั้นแสดงว่าหมดหนทางรอดแล้วเราควรจบชีวิตมันด้วยมือของเราเองเพื่อไม่ให้มันทรมาน

2.โรคตาโปน

2.โรคตาโปน

โรคนี้ทำให้ปลาตาโปนจากเบ้าตา สังเกตอาการได้ง่ายจากปลาที่เป็นโรคนี้มักจะอยู่ในน้ำที่มีคุณภาพไม่ดี และมีแรงกดดัน การรักษาอาจต้องใช้เวลาหลายวัน  เราควรงดให้อาหารปลาประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเราจะทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อให้เรียบร้อย โดยการจับปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่มีใบหูกวางเป็นเวลาประมาณ 2-3 วัน อาการตาปูดก็จะหายไป เพราะยางของใบหูกวางที่ละลายอยู่ในน้ำ จะช่วยรักษาแผลต่างๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

3.โรคแผลเปื่อย

3.โรคแผลเปื่อย

ปลาคาร์ปที่เป็นโรคนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน แต่จะแพร่เชื้อไปอย่างรวดเร็วโดยจะติดเชื้อที่เกล็ด การติดเชื้อจะแสดงอาการที่สังเกตได้ในรอยกระแทกใต้เกล็ด ต่อมาก็จะเริ่มปริออก ทำให้เกิดแผลเปื่อย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เรียกว่า โรคแผลเปื่อย  จำเป็นจะต้องรักษาด้วยเตตร้าซัยคลิน กำจัดอาหารที่เหลือโดยการรักษาควรใช้เวลาประมาณ 10 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าปลาคาร์ปของเรานั้นหายสนิทดีแล้ว

4.หนอนสมอ

4.หนอนสมอ

ที่มีลักษณะเหมือนกับเส้นด้ายมีความยาว 6-12 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-1.2 มิลลิเมตร  พยาธิชนิดนี้ตัวเมียจะมีหัวคล้ายสมอฝังอยู่ในตัวของโฮสท์ ในการสังเกตนั้นให้ดูจากพฤติกรรมของปลาที่มักจะถูตัวเพื่อครูดเอาพยาธิออก ก่อให้เกิดการระคายเคืองและเลือดไหลตรงที่เกาะ ส่วนที่ยื่นออกมาคือหนอนสีขาวอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่แผล หนอนสมอจะเจาะที่ลำตัวของปลาทำให้ปลาติดเชื้อและวางไข่บนผิวหนังของปลา ปลาจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร ผอมแห้ง กระพุ้งแก้มเปิดอ้า มีจุดสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัว ครีบและเหงือกอาจจะมีอาการอักเสบ ในการรักษาโรคหนอนสมอเราควรแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อใช้มาลาไคท์กรีนความเข้มข้น 0.1 ppm. แช่ติดต่อกันประมาณ 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ และคอยสังเกตอาการของปลาคาร์ปอยู่เป็นระยะ

5.วัณโรคปลา 

5.วัณโรคปลา 

เป็นโรคที่เกิดมาจากแบคทีเรีย Mycobacteria ที่เป็นสาเหตุให้เกิดบาดแผลเรียกว่า granuloma ที่อวัยวะภายใน โดยปลาคาร์ปที่เป็นโรคนี้ให้สังเกตจากดวงตาจะบวมแดงและช่องท้องบวมพอง สาเหตุที่ทำให้เกิดส่วนใหญ่เกิดกับปลาที่ทานอาหารสดเป็นหลัก เช่น หนอนแดง ไรทะเล ลูกน้ำที่ไม่สะอาด จนเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อมัยโคแบคทีเรีย  วิธีป้องกันคือก่อนให้อาหารทุกครั้งควรทำความสะอาดโดยการใช้ด่างทับทิมแช่ประมาณ 10-15 นาที อาหารสดที่ตายแล้วไม่ควรให้กินจะทำให้ปลาท้องอืดอาจเป็นพาหะนำเชื้อให้กับปลาได้ และในการป้องกันรักษาต้องทำความสะอาดอ่างหรือบ่อเลี้ยงอยู่เสมอ และอ่างเลี้ยงไม่ควรแออัดกันจนเกินไป

สำหรับการสังเกตอาการสามารถนำไปใช้ได้กับสัตว์เลี้ยงจำพวกปลาได้แทบทุกชนิดเลยก็ว่าได้ แต่การไม่ก่อให้เกิดโรคนั้นย่อมดีกว่า ดังนั้นเราควรหมั่นทำความสะอาดสระของเราอยู่เป็นประจำและไม่ควรให้ปลาอยู่ด้วยกันจนแออัดมากจนเกินไปเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลปลาที่เรารักให้อยู่กับเราไปนานๆ  เมื่อพบปลาที่ป่วยเป็นโรค หรือปลาที่ตายก็ให้เผาและฝังดิน อย่านำไปทิ้งในแหล่งน้ำสาธารณะ อุปกรณ์เลี้ยงปลาคาร์ปไม่ว่าจะเป็นสวิง ตาข่าย ควรหมั่นทำความสะอาดฆ่าเชื้อ น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาคาร์ป ก่อนจะปล่อยทิ้ง  ควรฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายเป็นวงกว้าง หมั่นทำความสะอาดระบบกรองและวัสดุกรองอย่างน้อยเดือนละครั้ง ให้อาหารที่ดีแก่ปลา เราควรสังเกตพฤติกรรมของปลาดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด  ปลาที่เรารักจะมีสุขภาพที่ดีได้ก็เกิดจากการดูแลของเราด้วยเช่นกัน

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> สล็อตโรม่า

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการสัตว์เลี้ยงแนวหน้าในประเทศไทย