ผู้อ่านเคยได้ยินประโยคนี้ไหมครับ ซึมเป็นหมาหงอย คำนี้มีที่มาอย่างไร และอาการหมาหงอยมีจริงหรือไม่ ผู้อ่านลองสังเกตพฤติกรรมของสุนัขที่ท่านเลี้ยงครับ ว่ามีอาการหมาหงอยหรือไม่ อาการหมาหงอยหากเราลงลึกในข้อมูลของอาการนี้จริงๆ คือการที่สุนัขของเราเปลี่ยนพฤติกรรมซึมลง เชื่องช้าลง ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในบางกิจกรรม ซึ่งมีสาเหตุ และปัจจัยต่างๆ มากมายที่ทำให้สุนัขของเรานั้นเกิดอาการซึมเศร้าได้ แต่หากถามว่าอาการซึมเศร้าของสุนัขและคนนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ ก็ต้องบอกไว้ตรงนี้เลยครับว่า อาการของคนและสัตว์มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งวันนี้ผมจะพาทุกคนไปดูกันว่า อาการซึมเศร้าของสุนัข หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า อาการหมาหงอยนั้น จริงๆ แล้ว มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถรักษาได้หรือไม่ และเราจะรับมือกับอาการเหล่านี้ยังไง ไปดูกันดีกว่าครับ
สาเหตุการซึมเศร้าของสุนัข แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก
การซึมเศร้าของสุนัขโดยหลักๆ หากแบ่งประเภทออกมา จะจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ซึมเศร้าจากภาวะการเจ็บป่วยทางร่างกาย และอีกหนึ่งประเภทคือการซึมเศร้าจากความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย สภาพจิตใจของสุนัขเอง โดยส่วนใหญ่แล้วสุนัขทุกตัวล้วนมีการเจ็บป่วยเช่นเดียวกับมนุษย์ เมื่อมีการเจ็บป่วย ไม่สบายตัว หรือดูแล้วว่าสุนัขไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติแบบในทุกๆ วัน ผู้เลี้ยงต้องสังเกตตามเนื้อตัวของสุนัขเพราะสุนัขอาจจะได้รับบาดเจ็บมา หรือหากไม่มีภาวะบาดเจ็บจากนอกร่างกาย ให้ผู้เลี้ยงนำสุนัขของท่านไปตรวจภายในอย่างละเอียด และอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้คือสภาพจิตใจหรืออุปนิสัยส่วนตัว สุนัขบางตัวมีนิสัยที่ไม่ชอบแสดงออก หรือเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากมนุษย์มาก่อน อาจจะมีความกังวล มีความกลัวทำให้ไม่สามารถแสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการรักษา และใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัยอาการ
สุนัขบางตัวมีอาการหวาดระแวงมาตั้งแต่เล็ก
หนึ่งในความเป็นไปได้นอกเหนือจาก 2 ประเภทหลักก็มีอีกหลายองค์ประกอบที่อาจทำให้สุนัขเกิดภาวะซึมเศร้าได้นั่นคือสุนัขเคยได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีมาตั้งแต่แรกเกิด หรือช่วงหลังเกิด ทำให้สุนัขเหล่านั้นเกิดอาการวิตกหวาดกลัว และระแวงสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง อย่างเช่นการที่สุนัขตัวหนึ่งเคยโดนมนุษย์ใช้ไม้ตีจนบาดเจ็บ เมื่อโตขึ้นมาแล้ว หากสุนัขตัวนั้นเห็นคนถือไม้ หรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกับสิ่งที่เคยโดนกระทำมาก็จะออกห่าง เกิดความระแวง และจะตามมาด้วยพฤติกรรมก้าวร้าวต่างๆ หากใครที่รับสุนัขมาเลี้ยงตอนโตแล้ว ให้สังเกตพฤติกรรมของสุนัขให้ดีนะครับ หากสุนัขกลัวอะไร นั่นอาจหมายความว่าสิ่งเหล่านั้นอาจจะเคยสร้างประสบการณ์ที่ไม่ได้ให้แก่ตัวของสุนัขเองก็เป็นได้
สภาพแวดล้อม อากาศ และการเปลี่ยนแปลงจากการเติบโต
สภาพแวดล้อม อากาศ และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเรียกได้ว่าส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงของเราได้ในระดับหนึ่งเลย อย่าในกรณีของต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล อุณหภูมิ ที่เรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลงแบบกลัวขั้ว จากอุณหภูมิที่สูงเปลี่ยนเป็นติดลบ สิ่งนี้ก็จะส่งผลต่อสุนัขที่เราเลี้ยงด้วย เมื่อถึงฤดูหนาวสุนัขเองก็จะเริ่มนิ่งขึ้น และนอนมากกว่าปกติ เพราะสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้สุนัขรู้สึกว่าร่างกาย และพลังงานในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงเลือกที่จะนอน และแสดงพฤติกรรมที่นิ่งขึ้น ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องของภาวะซึมเศร้าในสัตว์ แต่อาจจะมีผลในกรณีที่อยู่ร่วมในสถานการณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่เกิดความเครียด หรือการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของอายุของสุนัขก็มีผลเช่นกัน เมื่อสุนัขโตขึ้นบางตัวก็จะมีพฤติกรรมที่นิ่ง สงบมากขึ้น ไม่เห่า หอน หรือชวนเจ้าของเล่นเหมือนตอนเด็ก นี่ไม่ใช่ภาวะซึมเศร้าแต่มันคือการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของสุนัขนั่นเอง
สุนัขผูกพันมากเกินไป
เชื่อว่าเรื่องนี้คนเลี้ยงสุนัขนั้นเองก็ต้องเคยเจอ หลายครั้งที่เราได้เห็นคลิปวิดีโอบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับสุนัขที่รอเจ้าของกลับมาบ้าน โดยการมานั่งเฝ้าหน้าประตู เมื่อเจ้าของกลับมาก็จะเกิดอาการดีใจ กระโดดชวนเล่น และแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมาในลักษณะของความดีใจ พฤติกรรมแบบนี้เราจะเรียกกันว่า Hyperattachment เป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นตัวของตัวเองเมื่อถูกจับแยกออกจากเจ้านายหรือฝูง สุนัขจะเกิดความไม่มั่นใจ วิตกกังวล และเฝ้ารอคอย โดยจะแสดงออกมาในรูปแบบของการมองไปที่ประตู ร้องเบาๆ หรือบางตัวอาจจะหอน ซึ่งแต่ละตัวก็จะแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือสุนัขของเราจะกินอาหารน้อยลง ทำให้ร่างกายผอม ไม่มีแรง และซึมเศร้า อาการนี้ไม่เพียงเกิดขึ้นกับเจ้าของเท่านั้น แต่จะเกิดกับกลุ่มของที่สุนัขหวงอย่างตุ๊กตา หรือของเล่น ที่หากเรานำไปซ่อนหรือหายไป สุนัขจะแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนออกมาให้เรา
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข่าวสาร สาระ ความรู้ที่ทาง petsayhi.com ได้นำมาฝากทุกๆ ท่านในวันนี้ ซึ่งหากใครที่เลี้ยงสุนัขอยู่แล้ว เชื่อว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านได้เข้าใจพฤติกรรมของสุนัขมากขึ้น หากเกิดภาวะซึมเศร้าในสุนัขแนะนำให้พาไปพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อนำน้องไปรักษา และอีกอย่างภาวะซึมเศร้าของสุนัข กับของมนุษย์นั้นต่างๆกัน ผู้เลี้ยงจึงควรสำรวจพฤติกรรมบ่อยๆ เพื่อให้สุนัขของเรามีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสามารถอยู่กับเราไปได้นานๆ นั่นเอง เว็บตรงฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ