
ความศรัทธาและความเชื่อ ซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมานานตั้งแต่ในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ หรือเรื่องราวความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามสถานที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของประเพณีที่มีมายาวนานแต่โบราณ ประเพณีแห่นางแมวก็ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญของคนไทยทางภาคอีสาน
ประเพณีแห่นางแมวขอฝน ซึ่งมีแหล่งกำเนิดที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยตามพื้นที่แห้งแล้งในแต่ละจังหวัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ที่พื้นดินแข็งกระด้างและแห้งโดยปราศจากน้ำฝนมาหล่อเลี้ยง จึงทำให้เกิดการแห่นางแมวขึ้นมาเพราะด้วยความเชื่อและศรัทธาที่ว่าจะทำให้ฝนตก
ในแต่ละปีประมาณเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนกันยายน จะเป็นช่วงฤดูกาลที่มีการทำประเพณีแห่นางแมวกันมากที่สุด เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่ทางแถบภาคอีสานจะไม่ค่อยมีฝนตกลงมา และยังมีอากาศที่ร้อนจนไม่สามารถทำการเกษตรหรือปลูกต้นไม้อะไรได้เลย
อีกหนึ่งในความเชื่อกับการใช้แมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงในการนำมาเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของประเพณีการแห่นางแมวก็ด้วยเหตุผลที่ว่าแมวนั้นไม่ชอบน้ำและแมวไม่ชอบฝนที่ตกลงมา นั่นจึงเป็นที่มาของเหตุผล และเมื่อไหร่ก็ตามที่แมวส่งเสียงร้องก็จะยิ่งมีโอกาสทำให้ฝนตกลงมามากขึ้น
ระหว่างที่แมวร้องส่งเสียงบรรดาเหล่าชาวบ้านก็จะยิ่งสาดน้ำใส่แมว ด้วยเหตุที่ว่าแมวเกลียดน้ำเพราะจะทำให้แมวส่งเสียงร้องดังมากขึ้น และฝนก็ยิ่งตกหนักมากขึ้นตามความเชื่อ สำหรับข้าวของที่ต้องเตรียมเพื่อใช้ในประเพณีแห่นางแมวก็จะประกอบไปด้วย เข่งที่มีฝาปิด แมวตัวเมียหนึ่งตัวแต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นสีดำเพราะด้วยความเชื่อที่ว่าสีดำก็เหมือนกับก้อนเมฆที่มืดครึ้มตอนฝนตก
นอกจากนี้ก็จะเป็นธูปเทียนและดอกไม้อย่างละห้าคู่ รวมถึงไม้ขนาดยาวที่เอาไว้หามเข่งซึ่งมีแมวบรรจุอยู่ข้างใน เมื่อเตรียมการเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สามารถเริ่มพิธีได้ ซึ่งชาวบ้านในหมู่บ้านทั้งหลายทุกเพศทุกวัยก็จะมารวมตัวกัน หลังจากนั้นก็จับแมวใส่เข่งแล้วแห่เดินไปรอบให้ทั่วหมู่บ้าน
และนี้คือหนึ่งในประเพณีสำคัญอีกอย่างหนึ่งของประเทศไทย จากความเชื่อและความศรัทธาของชาวบ้านที่มีมาแต่โบราณกับ ประเพณีแห่นางแมว เพื่อขอฝนครับ
ภาพประกอบ talk.mthai.com
Pinterest.com
credit. ดัมมี่ออนไลน์