4 โรคสำคัญในแมวที่ทาสควรรู้

โรคในแมว

สารบัญ

โรคร้ายถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เจ้าแมวของเราจากไปก่อนเวลาอันควร และแน่นอนว่าโรคเหล่านี้สามารถป้องกันและรักษาได้ โดยโรคเหล่านี้สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุเช่น เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย หรือแม้แต่พยาธิก็สามารถเกิดได้เช่นกัน

และแน่นอนว่าโรคในแมวนั้นมีอยู่หลายโรคเช่นเดียวกันกับมนุษย์ โดยแต่ละโรคก็มีความซับซ้อนและสามารถทำให้เกิดปัญหาได้ในวงกว้างอีกด้วย

ผู้เลี้ยงจึงต้องรู้และเข้าใจถึงไม่ว่าจะเป็นสาเหตุ การติดต่อของโรค รวมไปจนถึงอาการและการดูแลเมื่อเป็นแล้วด้วยเพื่อให้สามารถระมัดระวังและนำไปรักษาได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดขึ้น ฉะนั้นเราไปดูกันดีกว่าครับว่าโรคที่สำคัญต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นกับเจ้าเหมียวของเราว่ามีอะไรกันบ้าง

1. โรคเชื้อราในแมว

1. โรคเชื้อราในแมว

โรคเชื้อราในแมวถือเป็นหนึ่งในโรคผิวหนังที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดบนตัวแมว โดยสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุและยังมีการติดต่อสูงอีกด้วย ซึ่งเชื้อราผิวหนังเหล่านี้มักเกิดจากเชื้อราที่เรียกว่า “Mircroporum canis” โดยจะพบเห็นส่วนมากในแมวที่มีขนยาวเนื่องจากบนตัวแมวอาจมีความชื้นจึงทำให้เกิดเชื้อรานี้ขึ้นได้

นอกจากนี้มันยังสามารถติดมาสู้ผู้เลี้ยงได้อีกด้วยโดยผ่านจากการสัมผัส อุ้ม หรือกอดจนเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังเช่นเดียวกัน

อาการ

แมวที่เกิดเชื้อราจะมีอาการคันอย่างเห็นได้ชัด เกิดผิวหนังที่เป็นสะเก็ดเหมือนรังแคส่งผลให้ขนร่วมเป็นกระจุกและทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นปื้น ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในเฉพาะที่หรือกระจายได้ทั่วตัว ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยที่ผู้เลี้ยงไม่ได้สังเกตอาจจะทำให้อาการร้ายแรงได้จนถึงขั้นเป็นตุ่มพองขึ้นได้ หรืออาจะจะขนร่วมและเกิดสะเก็ดทั่วตัวก็เป็นได้เช่นกัน

การป้องกัน

1. บริเวณที่เลี้ยงแมวควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยรวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับแมวด้วย และต้องฆ่าเชื้ออย่างเป็นประจำด้วย

2. เมื่อพบแมวที่เป็นเชื้อราแล้ว ควรแยกตัวที่เป็นออกมารักษาให้หายก่อนจึงค่อยนำกลับมาเลี้ยงรวมกับตัวอื่น ในขณะที่แมวตัวอื่นก็ต้องคอยสังเกตอาการว่ามีอาการเหมือนกันหรือไม่

3. หลังการอาบน้ำแมวควรเป่าขนให้แห้งเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้มีความชื้นซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อราที่กวนใจ

2. โรคหวัดแมว

2. โรคหวัดแมว

โรคหวัดแมวเกิดจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดขึ้นภายในตัวแมวซึ่งสามารถติดตามผ่านทางอากาศได้ โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงคือ “Feline viral rhinotracheitis และ Feline calcivirus” ส่วนไวรัสตัวอื่นๆ ก็จะมีความรุนแรงต่ำหรือก็สามารถหายเองได้โดยที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษา

อาการ

หลังจากแมวได้รักเชื้อไวรัสแล้วจะมีอาการจาม ไอ และมีน้ำมูกไหลจากนั้นจะมีไข้สูง เบื่ออาหาร เมื่ออาการหนักขึ้นก็จะมีน้ำมูกหนองข้น มีน้ำตา บริเวณลิ้นมีแผลหลุม และอาการเซื่องซึมและไม่กินอาหาร

การป้องกัน

1. โรคหวัดแมวสามารถป้องกันได้ตั้งแต่เด็กด้วยการรับวัคซีน

2. ดูแลทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงสม่ำเสมอ

3. ควรลดการสัมผัสโดยตรงจากแมวโดยตรงเพื่อป้องกันไม่ให้นำพาไปติดแมวตัวอื่น

4. เมื่อพบแมวที่มีอาการควรแยกออกมาจากตัวอื่นทันที และควรสังเกตอาการแมวตัวที่เหลืออย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

3. โรคไข้หัดแมว

3. โรคไข้หัดแมว

โรคไข้หัดแมวหรืออีกชื่อเรียกว่า โรคลำไส้อักเสบในแมว เป็นโรคที่สร้างความเสียหายได้เป็นกว้างเนื่องจากสามารถติดต่อกันได้ง่ายและกระจายอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้เชื้อของโรคนี้มันยังสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีอีกด้วย ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในแมวที่อายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับแมวในหลายช่วงอายุได้เช่นกัน หากแมวนั้นยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน

อาการ

ความรุนแรงของโรคนั้นสามารถดูได้จากอาการที่แมวได้รับโดยจะแบ่งออกได้ดังนี้

– แมวบางตัวมีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งจะสามารถพบได้ในแมวที่มีอายุมาทำให้มีภูมิต้านทานสูง

– หากแมวอายุไม่มากและได้รับอาการบางตัวก็อาจจะแสดงอาการเล็กน้อยโดยจะเริ่มจากอาการซึม มีไข้ เม็ดเลือดขาวในเลือดลดลง ลำไส้อักเสบ

– เมื่อได้รับเชื้อมากขึ้นอาการก็จะรุนแรงมากขึ้น โดยจะมีไข้ขึ้นสูงหรือมากกว่า 104 องศาฟาเรนไฮต์ หลังจากนั้นก็จะมีอาการเบื่ออาหาร ซึมมากขึ้น อาเจียนและท้องเสียรุนแรงภายใน 24-48 ชั่วโมง และจะพบว่าขนหนังหยาบขึ้นและไม่มีความยืดหยุ่นเนื่องจากอาการขาดน้ำ และสามารถสังเกตได้ว่าหากแมวกำลังจะตายอุณหภูมิร่างกายจะต่ำลงเรื่อยๆ และตายภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากแมวที่รอดชีวิตได้มาถึง 5-7 วัน ก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น

– อาการเฉียบพลันมักพบได้ในลูกแมว โดยจะมีการซึมมาก อุณหภูมิร่างกายต่ำซึ่งจะตายภายใน 24 ชั่วโมงโดยอาจไม่แสดงอาการใดๆ ก่อนหน้าให้ผู้เลี้ยงสังเกตเห็นเลย

การป้องกัน

1. การป้องกันที่ง่ายที่สุดที่สามารถทำได้คือ การรับวัคซีน

2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อมกับสิ่งขับถ่ายของแมวที่ได้รับเชื้อ

3. ผู้เลี้ยงไม่ควรปล่อยแมวให้ออกไปนอกพื้นที่เขตบ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแมวนอกบ้าน

4. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยไฮเตอร์ก่อนนำแมวตัวใหม่เข้ามาเลี้ยง

5. หากพบแมวที่ได้รับเชื้อ ควรแยกเพื่อรักษา และแยกตัวที่ยังไม่เป็นออกเพื่อเฝ้าดูอาการเป็นเวลา 2 สัปดาห์

4. โรคพิษสุนัขบ้า

4. โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าสามารถติดต่อได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดนเชื้อนี้สามารถติดต่อผ่านทางน้ำลายจากสัตว์ป่วยด้วยการกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่เกิดแผลจึงทำให้เชื้อไวรัสในน้ำลายเข้าสู่บาดแผลได้ และหากเชื้อไวรัสลามไปถึงระบบประสาทส่วนกลางก็จะไม่มีทางรักษาได้และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

อาการ

อาการของโรคสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ในช่วงระยะแรกก็จะดูเหมือนอาการป่วยทั่วๆ ไปโดยมีอาการซึม มีไข้ในช่วง 2-3 วัน จากนั้นจะเริ่มเข้าสู่ระยะต่อมาทำให้มีอาการกระวนกระวาย หงุดหงิด และพฤติกรรมจะเริ่มเปลี่ยนไป และเข้าสู่ระยะอัมพาตโดยจะมีอาการทรงตัวผิดปกติ กลืนลำบาก น้ำลายไหลมากกว่าปกติ

การป้องกัน

1. การป้องกันสามารถทำได้ง่ายเพียงแค่ต้องเข้ารับวัคซีนอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด

2. หากสังเกตว่าเจ้าเหมียวมีอาการต้องสงสัยควรไปพบแพทย์ทันที

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการสัตว์เลี้ยงแนวหน้าในประเทศไทย