3 Step ป้อนยาแมวยังไงให้ง่าย น้องไม่กัดมือ

น้องแมว

สารบัญ

เคยไหมครับที่เวลาแมวป่วย พอพาน้องไปหาหมอ หมอให้ยากลับมาป้อนน้องด้วยตัวเอง ซึ่งบอกเลยครับว่าดูจะเป็นเรื่องที่ยากมากเลยครับ สำหรับน้องแมวหลายๆ บ้านและกับผู้เลี้ยงหลายๆ คน เพราะน้องแมวจะค่อนข้างต่อต้าน และไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร บางตัวถึงกับกัดเลยนะครับ ซึ่งไม่แปลกเลยที่น้องทำพฤติกรรมเหล่านี้ออกมาเพราะน้องตกใจ กลัวและรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งการที่แมวของเรามีพฤติกรรมเหล่านี้นั่นเกิดจากน้องตกใจ หรือกลัวนั่นเอง เมื่อน้องตกใจหรือกลัว จึงไม่แปลกเลยครับที่น้องจะแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ออกมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมเชิงลบด้วยซ้ำ แต่รู้หรือไม่ครับ ว่าการป้อนยาของน้องแมวสามารถทำได้ง่ายๆ แค่ 3 Step เท่านั้น ซึ่งถ้าผู้เลี้ยงรู้วิธีการและขั้นตอนที่ผมจะบอกต่อไปนี้บอกเลยครับว่า ไม่ว่ายังไงน้องก็สามารถกินยาได้ง่าย ๆ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดการกัดได้ ซึ่งวันนี้ Petsayhi จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวิธีการป้อนยาน้องว่าทำยังไงถึงสามารถจัดการน้องได้อย่างอยู่หมัดใน 3 Step ป้อนยาแมวยังไงให้ง่าย น้องไม่กัดมือ ถ้าพร้อมแล้วตามผมมาดูกันเลยครับว่าทำยังไงได้บ้าง

ประเภทของยาที่ใช้ในแมว

ประเภทของยาที่ใช้ในแมว

ประเภทของยาที่ใช้ในแมวนั้นมี 2 ประเภทหลักๆ ที่สัตวแพทย์จะให้เรานั้นจะให้น้องกิน คือยาน้ำกับยาเม็ด ซึ่งยาน้ำเรียกได้ว่าไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ กินง่าย แต่รสชาติน้องอาจจะไม่ค่อยชอบ อาจจะต้องป้องกันอย่างระมัดระวังนิดนึงครับ แต่สำหรับยาเม็ดเป็นอะไรที่ยากกว่ามาก เพราะน้องไม่ชอบเลย กินทีไรมีดิ้น มีขัดขืน ที่สำคัญน้องอาจคายออกมาได้และแน่นอนว่ายารักษาของแมวไม่ใช่ยาราคาถูกๆ เลยครับ จ่ายทีมีปวดหัวกันแน่นอน ฉะนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากครับ ที่เราจะต้องป้อนยาให้น้องกินให้ได้ และไม่บ้วนหรือคายออก โดยเฉพาะกับยาเม็ด แน่นอนว่ายาเม็ดนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงมากหากเทียบกับยาน้ำ ถ้าอยากรู้ว่าต้องทำอย่างไรตามผมมาดูกันได้เลยครับ

Setp 1 จับน้องให้มั่น

Setp 1 จับน้องให้มั่น

ขั้นแรกเลยที่เรานั้นต้องทำคือการให้น้องอ้าปากครับ วิธีนี้บอกได้เลยครับว่ามือใหม่ยากแน่นอน เพราะเราจะไม่กล้าที่จะเอามือสอดเข้าปากน้อง และวิธีนี้ต้องใช้มือสอดเข้าไปในปากน้องด้วยครับ โดยการวางตำแหน่งของน้องเริ่มจากการจับหน้าของน้องโดยจัดตำแหน่งของนิ้วโป้ง และนิ้วกลางจับบริเวณขากรรไกรของน้องครับ เพื่อเป็นการล็อกไม่ให้น้องดิน จากนั้นใช้นิ้วชี้ของเราสอดเข้าไปในปากของน้อง สำหรับมือใหม่อาจจะมีความกลัวบ้าง แต่เชื่อเถอะครับว่าถ้าทำครั้งแรกได้ ครั้งต่อไปจะง่ายขึ้นเป็นเท่าตัวเลยครับ ซึ่งการสอดนิ้วเข้าไปในปากน้องจะช่วยให้น้องสามารถอ้าปากได้ และเป็นการล็อกไม่ให้น้องปิดปากนั่นเอง

Step 2 การหย่อนยาใส่ปากแมว

Step 2 การหย่อนยาใส่ปากแมว

วิธีนี้ไม่ยากเลยครับแต่ต้องดูจังหวะให้ดี เพราะน้องจะดิ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงแรกที่น้องเริ่มฝึกกินยาเม็ด หลังจากที่เราอ้าปากน้องแล้วให้เราหย่อนยาลงไปในปากน้องได้เลยครับ ซึ่งขั้นตอนนี้บอกได้เลยครับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยากอะไร สำหรับใครที่ทำเป็นประจำ แต่สำหรับมือใหม่บอกเลยครับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะตำแหน่งที่เราต้องหย่อนยาลงไปคือบริเวณกลางปากของน้องนั่นเอง ย้ำนะครับในการป้อนยาน้องให้ใส่เม็ดยาไว้บริเวณกลางปากของน้องเท่านั้น เพราะน้องจะพยายามคย่อนยาออกมา หลังจากใส่ยาลงไปในตำแหน่งที่ต้องการแล้วให้รีบปิดปากน้องเลยครับ เพื่อป้องกันการบ้วนยาทิ้ง และที่สำคัญอย่ากลัวนะครับ น้องไม่มีทางกัดเราได้ เพราะอย่าลืมว่าเราเอานิ้วคำไว้เรียบร้อยแล้วครับ วิธีนี้เรียกได้ว่าปลอดภัยและได้ผลอย่างมากเลยครับ

Step 3 ช่วยให้น้องกลืนยา

Step 3 ช่วยให้น้องกลืนยา

หลังจากที่เราปิดปากน้องเรียบร้อยแล้ว ให้เราใช้นิ้วมือลูบใต้คางน้องเบาๆ เพราะการลูบคางน้องจะช่วยให้น้องกลืนยาได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เลี้ยงต้องรีบทำหลังจากเอายาใส่ เพื่อไม่ให้น้องขม ให้ดูการกลืนน้ำลายของน้อง หากน้องกลืนน้ำลายหมายความว่าน้องได้กลืนยาลงไปแล้ว ถือว่าการป้อนยาเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ และอย่าลืมที่จะให้รางวัลน้องหลังจากกินยาเสร็จไปหลัง 1 ชั่วโมง ด้วยการหาขนมแมวเลีย หรือพูดชมน้องก็ได้ครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ 3 Step ป้อนยาแมวยังไงให้ง่าย น้องไม่กัดมือ ที่ทาง Petsayhi ได้นำมาฝากในวันนี้ บอกเลยครับว่าเป็นเรื่องที่หลายคนน่าจะยังไม่รู้ เพราะเรามักจะให้สัตวแพทย์เป็นคนจัดการ แต่หากน้องป่วยและต้องกลับมารักษาที่บ้าน แนะนำเลยครับว่าให้ฝึกการป้อนยาเม็ดให้น้องบ่อยๆ แต่หากเป็นยาน้ำ เราก็ต้องระวังไม่ให้เลอะนะครับ อย่าลืมนะครับป้อนยาแมวมีแค่ 3 Step เท่านั้น ถ้าคุณทำได้ในครั้งแรกรับรองเลยว่าต่อจากนี้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอนเพราะน้องจะชินมือของเจ้าของมากกว่ามือของคนอื่นนั่นเอง ที่สำคัญการให้ยาน้องแมวกับมือสามารถลดความเครียดได้อีกด้วย สล็อตแตกง่าย

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการสัตว์เลี้ยงแนวหน้าในประเทศไทย