น้องเป็นสัตว์หนึ่งในอันดับยอดฮิตสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ ไม่น้อยไปกว่าสุนัขหรือแมว เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพที่น่ารัก อ้วนท้วน หางกุด มีขนที่นุ่นนิ่ม ถึงแม้จะไม่ฟูเท่าชินชิล่าแต่ก็กอดแล้วฟินพอกัน รวมไปถึงลักษณะนิสัยที่เงียบ รักสงบ ไม่ค่อยส่งเสียงดังรบกวนใคร เหมาะแก่ผู้ที่ชอบเลี้ยงสัตว์ที่มีเสียง ว่าแล้วเราลองมาทำความรู้จักกับเจ้าปุกปุยตัวนี้กันดีกว่า
น้องถูกจัดอยู่ในตระกูลสัตว์ฟันแทะ และเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ลักษณะโดยทั่วไปคือมีขนที่ฟูนิ่มทั้งตัว ดวงตากลมโต มีหางสั้น และใบหูที่ยาวเพื่อใช้ในการรับฟังเสียงจากศัตรูในป่า นอกจากหูแล้วจมูกของน้องก็รับกลิ่นได้อย่างดีเยี่ยม น้องมีขาหลังและกล้ามเนื้อสะโพกที่แข็งแรง ใช้ในการดีดตัวเพื่อกระโดดได้สูงและไกล ใต้ฝ่าเท้าของน้องยังมีขนปกคลุมเพื่อให้การก้าวเท้าไม่ส่งให้เกิดเสียงดัง ข้อเสียของน้องอย่างหนึ่งคือขี้ตกใจง่าย บางตัวได้ยินเสียงพลุหรือฟ้าผ่าสามารถช็อคตายได้เลยเหมือนกัน
อายุเฉลี่ยของน้องอยู่ที่ประมาณ 7 – 12 ปี ขนาดตัวมีตั้งแต่ขนาดขนาดเกือบฟุตขึ้นไปขึ้นอยู่กับวิธีการเลี้ยงและสายพันธุ์ น้องใช้เวลาในการตั้งท้องประมาณ 1 เดือน คลอดลูกทีได้หลายตัวขึ้นอยู่กับสายพันธุ์อีกเช่นกัน ใน 1 ปี สามารถตั้งท้องให้ลูกได้ถึง 2 – 3 ครั้ง เมื่อลูกกระต่ายเกิดมาสามารถลืมตาได้เลย เพียงข้ามไปแค่ 1 คืนก็สามารถวิ่งกระโดดได้แล้ว ลักษณะที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของน้องจะอยู่ในทุ่งหญ้าราบ โดยขุดโพรงทำรังเพื่อหลบภัยจากศัตรู
สายพันธุ์กระต่ายที่นิยมในประเทศไทย
ถ้าจะให้พูดถึงสายพันธุ์ที่มีทั้งโลกคงจะเป็นเรื่องที่ยากเพราะว่ามีด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์มาก แต่ในบ้านเรานิยมเลี้ยงสายพันธุ์ตัวเล็ก ๆ กัน เราเลยจะขอยกตัวอย่างสายพันธุ์แคระที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันในขณะนี้
1. สายพันธุ์ Holland Lop (ฮอลล์แลนด์ ล็อป)
หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า HL เจ้าต่ายหูตก ตัวเล็กขนปุยตัวนี้ตกทาสมาแล้วนักต่อนัก ด้วยจุดเด่นอันแสนจะแบ๊วที่หูไม่ชูขึ้น กลับตกมาข้าง ๆ แก้มทั้งสองข้างแทน สายพันธุ์นี้เกิดการผสมระหว่างพันธุ์เฟรนซ์ ล็อปกับเนเธอร์แลนด์ ดวอร์ฟ โดยคนพัฒนาสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า คุณแอนเดรียน เดอคอก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึงปี 1964 ใช้เวลาตั้ง 15 ปีเลยทีเดียวกว่าจะได้น้องที่หน้าตาน่ารักแบบนี้ออกมา และในปี ค.ศ. 1980 สายพันธุ์ของน้องก็ได้รับการยอมรับจากสมาคม ARBA (สมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา) ในที่สุด
ลักษณะทางกายภาพและลักษณะนิสัย
น้องจะมีส่วนหัวและรูปหน้าที่ใหญ่ ใบหูสั้นและหนาตกลงมาเลยคางไม่เกิน 1 นิ้ว เมื่อเติบโตเต็มที่ตัวเมียจะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 1.7 กิโลกรัม ส่วนตัวผู้อยู่ที่ 1.6 กิโลกรัม กล้ามเนื้อแข็งแรง มีขนที่นุ่มลื่น ในส่วนของสีขนนั้นสามารถแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ได้ 7 หมวด ได้แก่กลุ่มสี Agouti (อะกูติ), สีขาวแต้ม, ขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม, สีพื้น, สีเฉด, สีพิเศษปลายขนสีน้ำตาล,สีสร้อยเงินสร้อยทองและสีอื่น ๆ ราคาค่าตัวน้องจะเริ่มจาก 3,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับว่าน้องอยู่ในเกรดไหน ยิ่งชิดเกรดประกวดราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่าตัว
ในส่วนของนิสัยก็ว่ากันว่าน่ารักไม่แพ้กันน้องนั้นมีความฉลาดเป็นมิตรกับผู้เลี้ยง เชื่อฟังว่านอนสอนง่ายถึงขนาดที่ว่าผู้เลี้ยงสามารถฝึกให้น้องโยนของ หรือคาบของมาส่งให้ได้เลยทีเดียว สามารถจำชื่อตัวเองได้ด้วย ตอนกลางวันจะเป็นเจ้าขี้เซานอนเยอะพอตื่นขึ้นมาก็เอาแต่กิน ๆ สามารถเลี้ยงในบ้านที่มีเด็กได้เพราะน้องไม่มีนิสัยที่ดุร้าย
การดูแลเอาใจใส่
ในเรื่องของการดูแลน้องสายพันธุ์นี้ก็เหมือนกับสายพันธุ์ทั่ว ๆ ไปไม่จำเป็นถึงขนาดต้องจับอาบน้ำ เพียงแค่ใช้หวีแปรงขนให้น้องบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดขนพันกัน แต่ที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษได้แก่หูของน้อง เนื่องจากหูนั้นพับตกลงมาแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น เพราะฉะนั้นปลายหูของน้องอาจจะสกปรกง่าย เนื่องจากเวลาน้องกินน้ำหรืออาหาร ปลายหูของน้องก็จะไปโดนเอาได้ทำให้เกิดความเปียกชื้น อาจก่อให้เกิดเชื้อราหรือเป็นแผล ดังนั้นควรให้ความสำคัญเรื่องความสะอาด หมั่นเช็ดปลายหูให้น้องอย่างสม่ำเสมอ
2. สายพันธุ์ Netherland Dwarf (เนเธอร์แลนด์ ดวอร์ฟ)
หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า ND มีขนาดตัวที่เล็กไม่แพ้ตัวอื่นในแก๊งต่ายสายพันธุ์แคระ ที่มาของน้องมาจากการผสมผสานสายพันธุ์ที่หลากหลายมากโดยเริ่มมาจากสายพันธุ์ดัทช์ที่ออกลูกหลายคอกแต่มีคอกนึงที่มีลักษณะพิเศษที่มีตาแดงและตัวเล็ก มีขนนุ่มลื่น คนจึงเรียกมันว่าเป็นสายพันธุ์โปลิช จากนั้นพันธุ์โปลิชก็ถูกผสมแบบเลือดชิดกันในครอบครัวจนได้ออกมาเป็นน้องตาแดงสีขาวล้วน และถูกนำมาผสมข้ามสายพันธุ์กับกระต่ายป่าในเนเธอร์แลนด์ที่มีขนาดตัวเล็ก โดยความไม่ตั้งใจจนเกิดยีนส์แคระขึ้นมา ทำให้ขนาดตัวน้องลดลงไปอีกกลายเป็นพันธุ์เนเธอร์แลนด์ ดวอร์ฟ ที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกาในที่สุด
ลักษณะทางกายภาพและลักษณะนิสัย
จุดแบ๊วที่ทำให้ทาสหลงใหลเลยคือหูจิ๋ว ที่สุดจะสั้น ตะมุตะมิ น่างับเป็นที่สุด รวมไปถึงขนาดตัวที่กระทัดรัด ลักษณะของน้องที่ถูกต้องตามตำราคือต้องมีใบหน้าและหัวที่ใหญ่เข้ากับขนาดตัว หูมีขนาดความยาวไม่เกิน 1 ถึง 2 นิ้ว หูชูตั้งขึ้นขนานกัน มีขนที่นุ่ม สั้น ไม่แข็งหยาบ ในส่วนของสีก็มีด้วยกันหลากหลายตัวเลือก เช่น สีเดียวทั่วกันทั้งตัว, สีแบบไล่ระดับ, สีแบบแมววิเชียรมาศ, สีแบบชินชิล่าที่ใน 1 เส้นขนมีสีมากกว่า 1 สี เรียกว่าสี Agouti (อะกูติ), แบบที่มีลายพาดเหมือนสร้อยคอก็จะจัด อยู่ในกลุ่มมีสร้อยก็แตกแขนงได้อีกหลายประเภท
น้องมีนิสัยที่ไม่ชอบอยู่กับที่เสียด้วยสิ อาจมาจากรูปร่างที่ดูเล็กคล่องแคลว่องไว ทำให้ดูซุกซน ขี้เล่น เหมือนเป็นนักกิจกรรม หงุดหงิดง่ายบางครั้งและไม่ชอบให้ผู้เลี้ยงมาแตะตัว ผู้เลี้ยงควรหากิจกรรมให้น้องทำเยอะ ๆ กันสักหน่อย แต่นิสัยแบบนี้ก็ไม่ใช่กับทุกตัว ขึ้นอยู่กับนิสัยของน้องด้วยตัวที่เรียบร้อยขี้อ้อนก็มี
การดูแลเอาใจใส่
การดูแลน้องสายพันธุ์นี้ไม่ใช่เรื่องยาก มีวิธีดูแลแทบไม่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ควรเลี้ยงน้องให้อยู่ในอากาศถ่ายเทมีลมผ่านให้ร่างกายได้ระบายความร้อน น้องมีวิธีระบายความร้อนผ่านทางหู หากน้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนมากสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับน้อง คือ เค้าจะทึ้งขนหูตัวเองให้บางลงเพื่อระบายความร้อนได้ดีขึ้น หากทำการผสมพันธุ์ไปยังรุ่นลูกหลานจะส่งผลให้ขนาดหูของน้องค่อย ๆ ยาวขึ้น เนื่องจากระบายความร้อนไม่ทันนั่นเอง
3. สายพันธุ์ Mini Rex (มินิเร็กซ์)
สายพันธุ์ที่มีความโดดเด่นทางด้านขน ที่มีความนุ่มและแน่นจนใครหลายคนเรียกว่าเป็นขนกำมะหยี่ แต่ขนาดตัวจะใหญ่ที่สุดในแก๊งค์เนื่องจากกินเก่ง แต่ก็ยังถูกจัดอยู่ในประเภทที่มีขนาดเล็ก น้องเป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 19 มินิเร็กซ์เกิดจากการกลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์เร็กซ์ โดยมีขนาดที่เล็กและใจดีมากกว่าเร็กซ์ โดยในปี ค.ศ. 1988 สายพันธุ์มินิเร็กซ์ก็ถูกขึ้นทะเบียนโดยสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกาในที่สุด
ลักษณะทางกายภาพและลักษณะนิสัย
น้องมีลำคอที่สั้น ใบหูหนาความยาวไม่เกิน 3.5 นิ้วรวมไปถึงขนาดขาที่สั้น เมื่อโตเต็มที่สายพันธุ์นี้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.6 ถึง 2 กิโลกรัม มีลักษณะขนที่สั้น เงางาม แน่น เมื่อผู้เลี้ยงลองได้ลูบและสัมผัสจะรู้สึกเหมือนสัมผัสขนกำมะหยี่ ในเรื่องของสีมีอยู่ด้วยกันหลายเฉดเช่น สีบลู, แคลิฟอร์เนียน, แคสเตอร์, สีชินชิล่า, ลีนซ์, โอปอลล์, ขาวและสีอื่น ๆ อีก
นิสัยของน้องจะมีความกระตือรือร้อนและเป็นมิตร มีความฉลาดสามารถฝึกให้เข้าห้องน้ำเองได้ด้วย
การดูแลเอาใจใส่
การดูแลน้องสายพันธุ์นี้ก็ไม่ยากมาก หลายคนอาจจะคิดว่าขนแน่นแบบนี้ถึงฤดูผลัดขนคงเหนื่อยตาย แต่ความเป็นจริงแล้วเราเพียงแค่เอามือลูบสางขนที่ตายออกก็สามารถหลุดออกมาได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้าจะให้ดีก็สามารถใช้แปลงหวีออกมาได้เช่นกัน ความเหนื่อยจะอยู่ที่การทำความสะอาดขนน้องเนื่องจากน้องขนแน่น เวลาขนน้องไปเปื้อนอะไรมาจะใช้เวลาทำความสะอาดนานหน่อย กว่าจะเป่าให้แห้งได้ก็กินเวลาอีกเช่นกัน ควรระมัดระวังเรื่องการกินไม่ให้น้ำหนักตัวของน้องมากเกินไปมิฉะนั้นน้องอาจจะเป็นแผลกดทับที่ฝ่าเท้าในอนาคตได้
4. สายพันธุ์ Lion Head (ไลอ้อน เฮดท์)
หรือที่คนไทยเรียกสั้น ๆ ว่าไลอ้อน ที่ได้ชื่อนี้มาก็เนื่องมาจากความพองหนาและฟูของขนน้องที่ไปคล้ายเข้ากับขนแผงคอของสิงโตตัวผู้ แต่นิสัยของน้องไม่ได้ดุดันเหมือนสิงโตแต่กลับมีความขี้อายซะอย่างนั้น ประวัติของน้องมีถิ่นกำเนิดมาจากเบลเยี่ยม มีการนำเข้ามายังประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1995 ถูกบอกกล่าวว่าสายพันธุ์นี้เกิดจากการผสมขึ้นระหว่าง Swiss Fox กับ Netherland Dwarf หรือ Angola น้องจึงยังไม่มีใครรับรองให้เป็นสายพันธุ์มาตรฐานในยุโรป แต่ต่อมาภายหลัง ในปี ค.ศ. 2001 ก็ได้มีการจัดตั้งสมาคมเพื่อกระต่ายสายพันธุ์นี้โดยเฉพาะในอังกฤษและอเมริกาอีกด้วย
ลักษณะทางกายภาพและลักษณะนิสัย
ลักษณะของน้องนั้นจะตัวสั้น กลมป้อม มีขนาดหัวที่ใหญ่ คอชิดลำตัว มีดวงตาสดใส กลมโต มีขนาดใบหูสั้นมีขนปกคลุม ส่วนพิเศษคือขนแผงคอที่หนาปุกปุยเป็นทรงกลมรอบหัวน้อง เมื่อโตเต็มวัยน้องจะมีขนาดอยู่ที่ 2 กิโลกรัม แต่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันประเทศไทยหาซื้อสายพันธุ์แท้ได้ยากเนื่องจากการถูกผสมพันธุ์บ่อย ๆ กับสภาพอากาศร้อนทำให้กรรมพันธุ์น้องเปลี่ยนไปจนทำให้ขนแผงคอไม่มี สีที่พบเห็นได้ทั่วไปจะมีสีขาว, น้ำตาล, ส้มและสีผสม
นิสัยน้องส่วนใหญ่มีความร่างเริงและเป็นมิตรกับผู้เลี้ยง มีความฉลาดสามารถจดจำคำสั่งเสียงจากผู้เลี้ยงได้เช่นการฟังคำสั่งเรียกให้มาหาหรือให้กินอาหารเป็นต้น
การดูแลเอาใจใส่
วิธีการดูแลสำหรับสายพันธุ์นี้อาจจะยากนิดหน่อยเพราะน้องมีขนที่ยาวมากกว่าสายพันธุ์อื่น ถ้าไม่ทำการหวีสางให้บ่อย ๆ ขนฟูบริเวณใต้คอหรือหลังหูของน้องอาจจะเกิดการพันกันได้ เพราะฉะนั้นควรหมั่นเอาใจใส่เรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบของเส้นขนน้องนิดนึง
5. สายพันธุ์ Dwarf Hotot (ดวอร์ฟ โอโท)
น้องต่ายที่มีสายตาสะกดทาสอย่างเรา ๆ มากที่สุดอีกหนึ่งสายพันธุ์ เนื่องจากจุดเด่นที่พันธุ์อื่นไม่มีนั่นก็คือดวงตากลมโต ที่มีขอบตาสีดำเหมือนกับตาของหญิงสาวที่กรีดอายไลน์เนอร์สวย ๆ ปัง ๆ ก่อนออกไปท่องราตรี น้องมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศสและสายพันธุ์ของน้องได้มีการพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 20
ลักษณะทางกายภาพและลักษณะนิสัย
อย่างที่บอกว่าน้องมีจุดเด่นในเรื่องของดวงตาที่มีสีขนรอบดวงตาเป็นสีดำเด่น ลักษณะที่ดีเส้นสีดำรอบดวงตานั้นควรมีขนาดเส้นที่หนาเท่ากันทั้งเส้น ไม่เว้าไปแหว่งมาหรือขาดตอน น้องมีขนาดตัวที่เล็กแต่ไม่ค่อยปราดเปรียว ซุกซน ค่อนข้างมีนิสัยออกไปทางเรียบร้อย เหมาะแก่การเลี้ยงในห้องที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเนื่องจากน้องไม่ต้องการพื้นที่มากในการวิ่งเล่น สีที่มีในสายพันธุ์นี้คือตัวสีขาวล้วนและขอบตาเป็นเส้นสีดำเท่านั้น ขนาดตัวเมื่อโตเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 1 ถึง 1.5 กิโลกรัมเท่านั้น
นิสัยน้องตามธรรมชาติถึงแม้จะเรียบร้อย แต่เมื่อถึงเวลาเล่นก็ขี้เล่นมาก ๆ มีความเป็นกันเองกับผู้เลี้ยง เชื่อฟังคำสั่งและเมื่ออยู่กับใครนาน ๆ เข้าก็จะติดเจ้าของมาก ๆ ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่ารักและขี้อ้อนสุด ๆ ไปเลย
การดูแลเอาใจใส่
ไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่นเลยแทบไม่มีความยุ่งยากใด ๆ น้องต้องการการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างเช่น ตั้งกรงน้องให้อยู่ในที่โล่งโปร่งสบาย มีลมพัดผ่านสะดวก หมั่นหวีขนทำความสะอาดขนให้น้องบ้างก็เป็นพอ
อาหารสำหรับน้องกระต่ายทุกสายพันธุ์
อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ได้แก่ นมซึ่งเป็นนมจากแม่ แต่ถ้าหากมีเหตุอันใดที่ทำให้ลูกเล็กไม่ได้อยู่กับแม่ นมที่สามารถทดแทนได้คือนมแมว แต่ถ้าหากไม่มีก็สามารถใช้นมหมาหรือนมแพะไปก่อนได้ พอน้องมีอายุได้สองเดือนสิ่งที่น้องจะสามารถทานได้ต่อไปคือหญ้าแห้งและอาหารเม็ด
ซึ่งอาหารสำหรับน้องหาซื้อได้ง่ายทั่วไปตามร้านขายอาหารสัตว์และอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง แต่ความสำคัญในการให้อาหารนั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณอาหาร น้องทานหญ้าเป็นอาหารหลัก เช่นหญ้าแพงโกล่า, หญ้าอัลฟาฟ่า เนื่องจากหญ้าประเภทนี้ให้คุณค่าทางอาหารในเรื่องของโปรตีนและไฟเบอร์สูง จะช่วยให้การขับถ่ายของน้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้ได้ทุกวันในขณะที่น้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี ส่วนหญ้าสดที่เรียกว่าหญ้าขนที่สามารถหาได้ตามข้างทางนั้น น้องกินได้ทุกวันเมื่ออายุเกิน 1 ปีขึ้นไป
เมื่อน้องมีอายุครบ 1 ปีขึ้นไปก็สามารถทานอาหารเม็ด ขนม ผักสดได้ แต่ขอให้เน้นหญ้าประมาณ 70 ถึง 80% จะ เหมาะสมกับระบบขับถ่ายของน้องที่สุด ซึ่งเราสามารถให้หญ้าวนเวียนเปลี่ยนกันไปแก้น้องเบื่อได้ด้วยนะ หญ้าที่น้องกินได้จะมี หญ้าโอ๊ต, หญ้าออร์ชาด, หญ้าบรอม เป็นต้น
นอกจากนั้น เราต้องให้ความสำคัญในเรื่องความสะอาดและปลอดภัยในอาหารของน้องเนื่องจากกระเพาะน้องมีการดูดซึมไว หากร่างกายได้รับสารพิษเข้าไปจะแสดงอาการไวมาก อย่างเช่นอุจจาระมีความนิ่มเหลว จนท้องเสียและสามารถเสียชีวิตได้ อาหารเม็ดควรให้เวลาเช้า – เย็นครั้งละหนึ่งช้อนโต๊ะ ส่วนผักผลไม้ให้ได้ในปริมาณน้อยและไม่บ่อย เช่น อาทิตย์ละหนึ่งถึงสองครั้งก็พอ ผักและผลไม้ที่สามารถให้ได้ เช่น ข้าวโพดอ่อน, แครอท, แอปเปิ้ล, กล้วย, คะน้า, ผักกาด เป็นต้น
สิ่งสำคัญสุดท้ายคือน้ำ เพียงแค่เรานำน้ำสะอาดเติมใส่กับกระบอกแขวนไว้ในกรงให้น้องสามารถทานได้ตลอดเวลาก็เพียงพอแล้ว ควรหมั่นเช็คความสะอาดและปริมาณน้ำบ่อย ๆ คอยเช็คลูกกลิ้งเหล็กที่อยู่ในปลายท่อกระบอกน้ำว่ามีการติดขัดไหม น้ำไหลตลอดเวลาหรือเปล่า
อุปกรณ์ภายในกรงน้องกระต่ายทุกสายพันธุ์
กรงควรตั้งอยู่ในที่ร่ม มีลมพัดหมุนเวียนตลอดเวลาอากาศถ่ายเทสะดวก พื้นห้ามมีความชื้นแฉะ เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับสุขอนามัยของน้อง สามารถนำกรงน้องไว้ในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ทั้งนี้ต้องมีรั้วรอบขอบชิด และมีบริเวณกว้างขวางพอให้น้องได้วิ่งเล่นได้ สามารถนำหญ้าแห้งปูรองพื้นให้น้องได้ หากเลี้ยงน้องในกรงต้องใช้กรงที่มีถาดรองอุจจาระปัสสาวะให้น้องด้วย หากเลี้ยงในบ้านต้องมีกระบะทรายให้น้องขับถ่ายซึ่งเราสามารถฝึกน้องได้ และควรทำความสะอาดโดยการตักทรายที่เป็นก้อนออกบ่อย ๆ ขวดน้ำเป็นกระบอกแบบแขวนในกรงได้ ชามอาหาร เลือกแบบมีน้ำหนักและก้นแบนจะได้ไม่ทำให้พลิกคว่ำได้ง่าย
สุดท้ายคือการ ดูแลเอาใจใส่น้อง คอยสังเกตอาการผิดปกติน้องอย่างเช่น การซึม ไม่ทานอาหารการสังเกตอุจจาระที่เหลวไม่เป็นก้อน อาการอักเสบเกี่ยวกับรอบดวงตาหรือผิวหนัง ความเครียดจนกัดทึ้งขนตัวเอง เป็นต้น ควรพาน้องไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้น้องมีสุขภาพแข็งแรงอยู่กับเราไปนาน ๆ สล็อต pg เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ 2021
ที่มาแหล่งข้อมูล : th.wikipedia.org, guru.sanook.com, boxmeaww.com, shopee.co.th
Credit ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ